โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม |
 |
น.พ.ธรรมนิตย์ อังศุสิงห์ ,ศ.พ.ญ.คุณหญิงสำอางค์ คุรุรัตน์พันธ์ ,นพ.วัลลภ ไทยเหนือ วันที่ 28 พ.ค.55 |
หลักการและเหตุผล |
 สตรีเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 3-4 หมื่น คนต่อปี โดยมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุตายอันดับแรก แต่ในปัจจุบัน โรคมะเร็งเต้านมมีอัตราป่วยและตายที่สูงขึ้นทั่วโลก ในประเทศไทยอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นจาก 34.4 ต่อแสนในปี 2549 เป็น 55.9 ต่อแสน ในปี 2553 การค้นพบไวรัสที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ทำให้สามารถผลิตวัคซีนที่มีการพัฒนาเพื่อป้องกันได้ แต่มะเร็งเต้านมยังไม่อาจค้นหาสาเหตุสำคัญได้ ขณะนี้โอกาสที่สตรีจะป้องกันตนเองจากมะเร็งเต้านมจากมะเร็งเต้านมจึงไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมช่วย นอกจากการตรวจเต้านมอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ จะได้พบก้อนที่สงสัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะรักษาให้หายขาดได้ (Early detection Early Protection) การให้ความรู้แก่สตรีไทยเพื่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Exam หรือ BSE) ได้มีการดำเนินการมากกว่า 10 ปีแล้ว แต่การประเมินผลว่า มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ยังเป็นคำถามที่สำคัญ และอาจเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา ที่ไม่สามารถพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีราคแพงได้ |
 มูลนิธิถันยรักษ์ฯ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจเต้านมด้วยตนเองเมื่อครั้งวโรกาส 100 ปี สมเด็จย่า โดยอบรม อสม.ทั่วประเทศ อย่างไรก็ดี จากสถิติศุนย์ถันยรักษ์ตลอด 17 ปี ที่ผ่านมา พบผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นอย่างต่ือเนื่อง และพบตั้งแต่อายุน้อยกว่า 35 ปี จึงได้จัดทำ โครงการสืบสานพระาชปณิธานสมเด็จย่า ต้านมะเร็งเต้านม และแต่งตั้งคณะทำงาน มี น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ กรรมการมูลนิธี พอ.สว.ที่ปรึกษามูลนิธิธันยรักษ์ เป็นประธานคณะทำงาน โดยการกำหนดพื้นที่ดำเนินงานที่เหมาะสมกับการติดตามผลอย่างเป็นระบบในระยะยาว (Long term follow up) เพื่อให้ได้ข้อมูลคุณภาพ มาเป็นแนวทางสำหรับการป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีไทยอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป มูลนิธิถันยรักษ์ เป็นมูลนิธิสุดท้ายที่สมเด็จย่าก่อตั้ง โดยมีพระราชประสงค์ให้สตรีไทยปลอดภัยจากโรคมะเร็งเต้านม ด้วยพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ต่อคุณภาพชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นทุกขณะ การดำเนินการร่วมกันของทุกหน่วยงาน เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จย่าให้สำเร็จตามพระราชประสงค์ จึงเป็นเรื่องที่ควรสนับสนุน |
วัตถุประสงค์ |
- เพื่อกระตุ้นให้ผู้หญิงไทยตรวจเต้านมด้วยตนเอง และสนับสนุนส่งเสริมอุปกรณ์และสื่อต่างๆเพื่อช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ศึกษารูปแบบการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Seft Exam หรือ BSE) อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการค้นพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่เริ่มแรก
|
เป้าหมาย |
- สตรีอายุ 30-70 ปี ขึ้นไปใน 4 ภาคพื้นที่ดำเนินการ
|
พื้นที่ดำเนินการ |
- ปีที่ 1 พ.ศ.2555 ดำเนินการใน 4 อำเภอ ใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่
- อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ (ภาคเหนือ)
- อำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
- อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- อำเภอท่าเรือ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา (ภาคกลาง)
- ปีที่ 2 พ.ศ.2556
- ขยายพื้นที่ 4 จังหวัดนำร่องของ 4 ภาค (ดำเนินการเต็มพื้นที่) ได้แก่ จังหวัด จันทบุรี สุราษฎ์ธานี นครราชสีมา เชียงราย
- เิ่พิ่มพื้นที่ดำเนินการในเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข อีก 12 เขต เขตละ 1 จังหวัด จังหวัดละ 1-2 อำเภอ ได้แก่ ลพบุรี นครนายก ราชบุรี สมุทรสงคราม พังงา สงขลา หนองบัวลำภู สกลนคร ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี พิษณุโลก นครสวรรค์
- ปีที่ 3 พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ดำเนินการต่อเนื่องใน 4 อำเภอนำร่อง 4 จังหวัดนำร่อง และอีก 12 อำเภอใน 12 จังหวัด เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
|
วิธีการดำเนินการ |
- การเตรียมความพร้อมของมูลนิธิถันยรักษ์ฯ โดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ของจังหวัดพื้นที่ดำเนินการ เพื่อนำมากำหนดแผนการดำเนินงาน ระหว่างเดือน มีนาคม-เมษายน 2555
- การดำเนินการ
- การประชุมประสานเชิงนโยบาย ประกอบด้วยมูลนิธิถันยรักษ์ กระทรวงสาธารณสุข สปสช.กระทรวงมหาดไทย พ.ม. สภากาชาดไทยและภาคเอกชนกลางเดือน พฤษภาคม 2555
- การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเปิดตัวโครงการ โดยมีผู้เข้าร่วม คือ ผู้ตรวจราชการกระรวงสาธารณสุข 18 เขต นายกเหล่ากาชาด 18 จังหวัด นพ.สสจ. 18จังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง
- การอบรม อสม.เชี่ยวชาญ และผู้นำสตรีใน 4 อำเภอ / 4 จังหวัดนำร่อง ระยะเวลา 2 วัน จังหวัดละ 80-100 คน ณ.จังหวัดพื้นที่ดำเนินการ เดือนกรกฎาคม 2555
- การรณรงค์เปิดตัวโึครงการเป็นทางการ โครงการสืบสานพระราชปณิธานต้านมะเร็งเต้านม เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า เดือนพระราชสมภพ ตุลาคม และเดือนแห่งการรณรงค์ International Breast Awareness
- การติดตามประเมินผล เพื่อประเมินความต่อเนื่องและถูกต้องในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเป้าหมาย จากสมุดบันทึกการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีทุกเดือน ทุก 3 เืืดือน และ 6 เืดือน
- สนับสนุนเครื่องมือ และอุปกรณ์แก่ รพช/ รพศ/รพท. เพื่อให้มีการส่งต่ออย่างเป็นระบบ และเก็บข้อมูลติดตาม พร้อมทั้งรณรงค์ทางสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และระบบการกระตุ้นจูงใจแก่ อสม. และผู้หญิงในชุมชนให้ใช้ 2 มือให้เป็นประโยชน์
- การรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผลโครงการ
- การวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละปีของการดำเนินงาน เพื่อศึกษาึุณภาพ BSE ในโครงการ
- การวิเคราะห์ข้อมูลเืพื่อเปรียบเทียบ ผลของ BSE ในโครงการ (Cases) และนอกโครงการ (Control) ในกลุ่มเป้าหมายตามกลุ่มอายุ ในประเด็นที่พบก้อนสงสัย ขนาดของก้อน การยืนยันการครวจชิ้นเนื้อ ระยะที่พบ (Staging) และอัตราการตาย (Mortality)
- เปรียบเทียบขนาดก้อนที่พบเป็นระยะเริ่มต้น (Early) และขนาดที่เล็กลง (down sizing) ตามระยะเวลาที่ผ่านไปหรือไม่
|
ระยะเวลาการดำเนินการ |
- ระยะที่ 1 พ.ศ.2555 นำร่องใน 4 อำเภอ จาก 4 จังหวัด
- ระยะที่ 2 พ.ศ.2556 ขยายผลใน 14 จังหวัด
- ระยะที่ 3 พ.ศ.2557-2560 วิเคราะห์ประเมินผล และสรุปรูปแบบเพื่อประเมินผล
|
งบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
มูิลนิธิถันยรักษ์ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
- ได้รูปแบบการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (BSE) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งเต้านมในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ
- ได้กรอบและแนวทางการประสานงาน และดำเนินโครงการทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่
- มีการส่งเสริมและสนับสนุนสื่อ อุปกรณ์และเครื่องมือตามความเหมาะสม รวมทั้งร่วมพิจารณาระบบการส่งผู้ป่วย
- ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพและการร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อช่วยเหลือหญิงไทยและประเทศด้อยพัฒนาต่อไป
|